Home
เรื่องที่ ๑ : ภาษา
เรื่องที่ ๒ : เสียงในภาษา
เรื่องที่ ๓ : ลักษณะของภาษาไทย
=> ลักษณะของภาษาไทย
=> แบบฝึกหัดเรื่องที่ ๓
เรื่องที่ ๔ : อิทธิพลของภาษาต่างประเทศ
เรื่องที่ ๕ : การสร้างคำ
เรื่องที่ ๖ : กลุ่มคำ
เรื่องที่ ๗ : ประโยค
ลักษณะของภาษาไทย

ลักษณะของภาษาไทย

                ๑.   เป็นภาษาคำโดด      คำโดด    หมายถึง  คำที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเมื่อเข้าประโยค  ความหมายจะอยู่ที่การเรียงคำ         เช่นคำว่า    คำว่า   กิน  

        ฉันกินข้าว

                        ฉันกินข้าวแล้ว

                        ฉันกำลังจะกินข้าว
                                      

                ๒.   ส่วนมากมีพยางค์เดียว     แต่จะมีหลายพยางค์ได้โดยเกิดจาก

                         ๒.๑   การกร่อนเสียง  

                                    หมาก      ð      มะ    มะขาม   มะม่วง   มะนาว   มะตูม

                                    ตัว            ð      ตะ    ตะขาบ   ตะเข้   ตะโขง

                                    ต้น           ð      ตะ    ตะเคียน   ตะขบ   ตะไคร้

                                    ตา            ð       ตะ    ตะวัน    ตะปู

                    สาย          ð      สะ    สะดือ   สะดึง   สะเอว          

                                    สาว          ð      สะ    สะใภ้ 

                         ๒.๒  การแทรกเสียง    คือ การเติมเสียงลงกลางระหว่างคำ  ๒ คำ ทำให้เกิดเป็นคำใหม่    คำที่มีหลายพยางค์    เช่นคำว่า

                                     ผักเฉด         ð          ผักกะเฉด

                                     นกจอก        ð          นกกระจอก

                                     ลูกดุม           ð          ลูกกระดุม

                          ๒.๓  การเทียบแนวและเพิ่มเสียง

                                     จุกจิก           ð          กระจุกกระจิก

                                     จุ๋มจิ๋ม           ð          กระจุ๋มกระจิ๋ม

                                     โดด             ð          กระโดด

                                      ทำ               ð          กระทำ

                          ๒.๔  เติมอุปสรรคเทียมเลียนแบบเขมร    ทำให้ความหมายเปลี่ยนไปบ้าง

                                      (กวนให้ทั่ว)  คน         ð          ระคน (คลุก   เคล้า   ปะปน)

                                      (ประสมกัน) ปน          ð          ปะปน (ผสมปนเปกัน)     

                                  (สาก  ไม่เรียบ) คาย         ð          ระคาย  (ทำให้คายคัน)            
                                       

                ๓.   มีตัวสะกดตรงตามมาตรา

          แม่ กก              -              ปาก   จิก   รัก   ลูก   ดอก

                          แม่ กง              -              กาง    ตุง    ดัง    จูง    สาง

                          แม่ กน             -              คน    นาน    ปูน    โจน    เรือน

          แม่ กด              -              ปิด    พูด    โดด    รอด    สาด

                          แม่ กบ              -              ลูบ    จับ    เสียบ    สิบ    ทาบ

                          แม่ กม              -              ดม    สาม    จม    ริม    ชาม

          แม่ เกย             -              เลย    เขย    เชย    โชย    สาย

                          แม่ เกอว          -              เอว    ราว    หิว    หาว 

                                      

                ๔.   ไม่มีตัวการันต์


This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free