Home
เรื่องที่ ๑ : ภาษา
เรื่องที่ ๒ : เสียงในภาษา
เรื่องที่ ๓ : ลักษณะของภาษาไทย
เรื่องที่ ๔ : อิทธิพลของภาษาต่างประเทศ
เรื่องที่ ๕ : การสร้างคำ
เรื่องที่ ๖ : กลุ่มคำ
=> กลุ่มคำ
=> แบบฝึกหัดเรื่องที่ ๖
เรื่องที่ ๗ : ประโยค
กลุ่มคำ

กลุ่มคำ 
กลุ่มคำ   
คำตั้งแต่    คำขึ้นไปเรียงติดต่อกัน  มีความหมายชัดเจนขึ้นกว่าเดิม

 

ชนิดของกลุ่มคำ

                กลุ่มคำแบ่งออกเป็น     ชนิด  ตามชนิดของคำ

                p    กลุ่มคำที่ทำหน้าที่เหมือนคำนาม  (นามวลี)

                p    กลุ่มคำที่ทำหน้าที่เหมือนคำสรรพนาม  (สรรพนามวลี)

                p    กลุ่มคำที่ทำหน้าที่เหมือนคำกริยา  (กริยาวลี)

                p    กลุ่มคำที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์  (วิศษณ์วลี)

                p    กลุ่มคำที่ทำหน้าที่เหมือนคำบุพบท  (บุพบทวลี)

                p    กลุ่มคำที่ทำหน้าที่เหมือนคำสันธาน  (สันธานวลี)

                p    กลุ่มคำที่ทำหน้าที่เหมือนคำอุทาน  (อุทานวลี)

                                      

p  กลุ่มคำที่ทำหน้าที่เหมือนคำนาม (นามวลี)  ทำหน้าที่เป็นประธาน  เป็นกรรม   เป็นส่วนเติมเต็ม  เป็นคำเรียกขาน   หรืออาจใช้เป็นส่วนขยายคำนามและกริยา

 

     ตัวอย่างประโยค
กลุ่มคำ
ทำหน้าที่
เครื่องหมายการค้าของบริษัทนี้เป็นรูปดอกบัว
เครื่องหมายการค้า
ประธาน
เขาสร้างโรงงานอาหารสัตว์ในประเทศจีน
โรงงานอาหารสัตว์
กรรม
อาหารในจานนี้คล้ายยำปลาดุกฟู
ยำปลาดุกฟู
ส่วนเติมเต็ม
ลูกพ่อขุนทุกคนโปรดมาร่วมงานโดยพร้อมเพรียงกัน
ลูกพ่อขุนทุกคน
คำเรียกขาน
บริษัทนี้มีลูกค้ากลุ่มเป้าหมายอยู่แล้ว
กลุ่มเป้าหมาย
ขยายนาม  ลูกค้า
นักกีฬาวิ่งตอนเช้าตรู่ทุกวัน
ตอนเช้าตรู่ทุกวัน
ขยายกริยา วิ่ง

 

 

 

 

                                           

 p   กลุ่มคำที่ทำหน้าที่เหมือนคำสรรพนาม  (สรรพนามวลี)        ทำหน้าที่เป็นประธาน  เป็นกรรม  เป็นส่วนเติมเต็ม     เป็นคำเรียกขาน   หรืออาจใช้เป็นส่วนขยายนาม

 

     ตัวอย่างประโยค
กลุ่มคำ
ทำหน้าที่
เราทุกคนรู้สึกปลื้มปิติที่ได้มารับเสด็จในวันนี้
เราทุกคน
ประธาน
วิทยากรกำลังแจกเอกสารให้พวกเราทุกคน
พวกเราทุกคน
กรรม
สมาชิกของชมรมนักอ่านเป็นพวกเราทั้งนั้น
พวกเราทั้งนั้น
ส่วนเติมเต็ม
ท่านทั้งหลายโปรดฟังผมก่อนนะครับ
ท่านทั้งหลาย
คำเรียกขาน
อนาคตของชาติอยู่ในมือพวกเธอทุกคน
พวกเธอทุกคน
ขยายนาม  มือ

 

 

 

                                             

p   กลุ่มคำที่ทำหน้าที่เหมือนคำกริยา  (กริยาวลี)        ทำหน้าที่เป็นประธาน    เป็นกริยา    หรือเป็นส่วนขยายนามหรือกริยา   ก็ได้

 

     ตัวอย่างประโยค

กลุ่มคำ

ทำหน้าที่

บริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอช่วยให้สุขภาพดี

บริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอ

ประธาน

นักข่าวเดินเข้ามาสัมภาษณ์นายกรัฐมนตรี

เดินเข้ามาสัมภาษณ์

กริยา

ภาพวาดสีน้ำมันนี้มีค่ามาก

วาดสีน้ำมัน

ขยายนาม  ภาพ

เธออย่าสนใจโฆษณาชวนเชื่อของเขาเลย

โฆษณาชวนเชื่อ

ขยายกริยา สนใจ

 

 

 

 

                                          

p   กลุ่มคำที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์  (วิเศษณ์วลี)        ทำหน้าที่ขยายนาม   ขยายสรรพนาม   ขยายกริยา    หรือขยายวิเศษณ์  
     

   ตัวอย่างประโยค

กลุ่มคำ

ทำหน้าที่

บ้านใหญ่โตมโหฬารนั้นเป็นของใคร

ใหญ่โตมโหฬาร

ขยายนาม บ้าน

เราทั้งหลายในที่นี้รู้สึกซาบซึ้งใจที่ท่านมาเยือน

ทั้งหลายในที่นี้

ขยายสรรพนาม เรา

เขาเดินโซซัดโซเซเข้าบ้านไปเมื่อสักครู่นี้เอง

โซซัดโซเซ

ขยายกริยา เดิน

เธอพูดจาดีอย่างเป็นกันเองกับทุกคนที่มาติดต่อ

อย่างเป็นกันเอง

ขยายวิเศษณ์ ดี

 

 

 

 
                                        

p   กลุ่มคำที่ทำหน้าที่เหมือนคำบุพบท  (บุพบทวลี)        ทำหน้าที่นำหน้านาม    นำหน้าสรรพนาม นำหน้ากริยา    เพื่อบอกความสัมพันธ์กับประโยคหรือข้อความข้างหน้า

 

     ตัวอย่างประโยค

กลุ่มคำ

ทำหน้าที่

เขาร้องเพลงได้ดีในท่ามกลางผู้ฟังจำนวนมาก

ในท่ามกลาง

นำหน้านาม ผู้ฟัง

เขาพูดจากระโชกกับทุกคนเว้นแต่เธอเท่านั้น

เว้นแต่

นำหน้าสรรพนาม เธอ

ฉันแต่งนิราศในระหว่างเดินทางทัศนศึกษา

ในระหว่าง

นำหน้ากริยา

เดินทาง

 

 

 

 

                                            

p   กลุ่มคำที่ทำหน้าที่เหมือนคำสันธาน  (สันธานวลี)       ทำหน้าที่เชื่อมประโยค  หรือเชื่อมกลุ่มคำ   

      

   ตัวอย่างประโยค

กลุ่มคำ

ทำหน้าที่

เขาดีใจมากตั้งแต่เมื่อรู้ว่าเขาสอบเข้าศึกษาต่อได้

ตั้งแต่เมื่อ

เชื่อมประโยค

เขาหมั่นฝึกซ้อมเพราะฉะนั้นเขาจึงชนะ
การแข่งขัน
เพราะฉะนั้น....จึง

เชื่อมประโยค

เธอชอบอ่านหนังสือดังนั้นเธอจึงขอไปช่วยงานห้องสมุด

ดังนั้น....จึง

เชื่อมประโยค

 

 

 

การออกกำลังกายมากเกินไปในระหว่างที่ฟื้นไข้

ในระหว่างที่

เชื่อมกลุ่มคำนามกับ

ทำให้อาการป่วยของเขาไม่ดีขึ้น

 

กลุ่มคำกริยา

 

 

 

 

                                           

p   กลุ่มคำที่ทำหน้าที่เหมือนคำอุทาน  (อุทานวลี)   ทำหน้าที่แสดงอารมณ์บอกความรู้สึกของผู้พูด 

      

    ตัวอย่างประโยค

กลุ่มคำ

บอกความรู้สึก

โอ้โฮแฮะ! แต่งตัวเสียเช้งวับไปเลยนะเธอ 

โอ้โฮแฮะ

ตื่นเต้น

แล้วกัน!  เขาหายไปไหนนะ

แล้วกัน

กังวลใจ

พุทโธ่เอ๋ย!  น่าสงสารจริงๆ

พุทโธ่เอ๋ย

เวทนา   สงสาร

ว้าย ! เข้ามาเงียบๆ ตกใจหมดเลย

ว้าย

ตกใจ

อกอีแป้นจะแตก ! บ้านรกอะไรอย่างนี้

อกอีแป้นจะแตก

ไม่พอใจ

 

 

 


                                  

 

This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free