ชนิดของประโยค
< ประโยคความเดียว : มีใจความสำคัญเพียงใจความเดียว (มีประธานเพียง ๑ ตัว และกริยา ๑ ตัว)
ปลาหมอตายเพราะปาก
ฉันไปโรงเรียน
< ประโยคความรวม : ประโยคความเดียวตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไปมารวมกัน มีสันธานเป็นตัวเชื่อม หรือละสันธานไว้
ใจความของประโยคความรวม
= เนื้อความคล้อยตามกัน มักมีสันธานคำว่า และ แล้ว..ก็ มีข้อสังเกตคือ ประธาน ๒ ตัวทำกิริยาอย่างเดียวกัน หรือ ประธานตัวเดียวทำกิริยา ๒ อย่าง
คุณพ่อและคุณอาไปทำบุญที่วัด
(คุณพ่อไปทำบุญวัด , คุณอาไปทำบุญวัด)
ฉันกินข้าวแล้วก็นอน
(ฉันกินข้าว , ฉันนอน)
= เนื้อความขัดแย้งกัน มักมีสันธานคำว่า แต่ แต่...ก็ กว่า...ก็ ถึง...ก็ มีข้อสังเกตคือ ประธาน ๒ ตัวทำกิริยาคนละอย่างกัน
กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้
(ถั่วสุก , งาไหม้)
มะพร้าวตื่นดกยาจกตื่นมี (ละสันธานคำว่า แต่)
(มะพร้าวตื่นดก , ยาจกตื่นมี)
= เนื้อความให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง มักมีสันธานคำว่า หรือ มิฉะนั้น ไม่...ก็ มีข้อสังเกต คือ ในประโยคจะกำหนดตัวเลือกมาให้
เธอจะกินข้าวหรือไม่
(เธอกินข้าว , เธอไม่กินข้าว)
มนุษย์ต้องทำมาหากินไม่เช่นนั้นก็ต้องอดตาย
(มนุษย์ต้องทำมาหากิน , มนุษย์ต้องอดตาย)
= เนื้อความเป็นเหตุเป็นผลกัน มักมีสันธานคำว่า เพราะ เพราะฉะนั้น จึง มีข้อสังเกตคือ ประโยคแรกจะเป็นประโยคเหตุ ประโยคหลังจะเป็นประโยคผล
เพราะน้ำเน่ายุงจึงชุม
(น้ำเน่า , ยุงชุม)
นักเรียนไม่ได้ทำการบ้านดังนั้นจึงไม่ไปโรงเรียน
(นักเรียนไม่ได้ทำการบ้าน , นักเรียนไม่ไปโรงเรียน
< ประโยคความซ้อน : ประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงใจความเดียวประกอบด้วย ประโยคใจความสำคัญเป็นประโยคหลัก (มุขยประโยค) และมีประโยคขยายเป็นประโยคย่อย (อนุประโยค) มีข้อสังเกตคือ ประโยคความซ้อนก็คือประโยคความเดียวที่มีส่วนขยายเป็นประโยค
เพชรซึ่งรวมอยู่ในหมู่พลอยย่อมส่องแสงแวววาว
- เพชรย่อมส่องแสงแวววาว (ประโยคหลัก)
- เพชรรวมอยู่ในหมู่พลอย (ประโยคย่อย)
เขาวิ่งเร็วจนฉันตามไม่ทัน
- เขาวิ่งเร็ว (ประโยคหลัก)
- ฉันตามไม่ทัน (ประโยคย่อย)
ยุงชุมเพราะน้ำเน่า
- ยุงชุม (ประโยคหลัก)
- น้ำเน่า (ประโยคย่อย)
ข่าวคุณพ่อมาจากต่างประเทศทำให้ลูกๆดีใจ
- ข่าวทำให้ลูกๆดีใจ (ประโยคหลัก)
- คุณพ่อมาจากต่างประเทศ (ประโยคย่อยทำหน้าที่ขยายนาม)
คนทำดีย่อมได้รับผลดี
- คนย่อมได้รับผลดี (ประโยคหลัก)
- คนทำดี (ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทประธาน)
ฉันเห็นเด็กเดินริมถนน
- ฉันเห็นเด็ก (ประโยคหลัก)
- เด็กเดินริมถนน (ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทกรรม)
|