ลักษณะของเสียงพยัญชนะ
๑. มีทั้งเสียงก้องและไม่ก้อง
๒. มีการดัดแปลงลมบริเวณเส้นเสียง ช่องระหว่างเส้นเสียง และอวัยวะในช่องปาก
๓. ไม่สามารถออกเสียงตามลำพังได้ ต้องอาศัยเสียงสระช่วยในการออกเสียง
๔. อาจนำหน้าเสียงสระ หรือตามหลังเสียงสระก็ได้
เสียงพยัญชนะและรูปพยัญชนะ
๑. / ก / ก
๒. / ค / ข ฃ ค ฅ ฆ
๓. / ง / ง
๔. / จ / จ
๕. / ช / ช ฌ ฉ
๖. / ซ / ซ ศ ษ ส
๗. / ย / ญ ย
๘. / ด / ด ฎ
๙. / ต / ต ฏ
๑๐. / ท / ท ธ ฑ ฒ ถ ฐ
๑๑. / น / น ณ
๑๒. / บ / บ
๑๓. / ป / ป
๑๔. / พ / พ ภ ผ
๑๕. / ฟ / ฟ ฝ
๑๖. / ม / ม
๑๗. / ร / ร
๑๘. / ล / ล ฬ
๑๙. / ว / ว
๒๐. / ฮ / ฮ ห
๒๑. / อ / อ * บางตำราไม่นับเป็นเสียงพยัญชนะ
พยัญชนะควบกล้ำ : พยัญชนะต้น ๒ ตัว ประสมด้วยสระ
เดียวกัน ออกเสียง ๑ พยางค์
พยัญชนะควบกล้ำแท้ : พยัญชนะต้นตัวที่ ๒ เป็น ร ล หรือ
ว และออกเสียงพยัญชนะต้น ทั้ง ๒
ตัวพร้อมกัน
กร - กราบ กรุง ไกร กรอบ กรี กรุ
กล - กลับ กลาย เกลี้ยง ไกล กลม กลัว
กว - กวาด แกว่ง ไกว เกวียน
ขร - ขรุขระ ขรม ขรัว
ขล - ขลาด ขลุ่ย ขลัง ขลุกขลัก ขลิบ
ขว - ขวัญ แขวน ขวักไขว่ ขวนขวาย
คร - ครู ครอบ คราด ครั้ง ครีบ ครึกครื้น
คล - คลาด คลอง คลุม คล่องแคล่ว คลอนแคลน
คว - คว่ำ ควาย เคว้งคว้าง ความ คว้า
ตร - ตรง ตรวจ ตรา ตรอม ตรู ตริ ตรอง
ทร - นิทรา จันทรา อินทรา
ปร - ปรุง โปร่ง ปราบ ปราม เปรียว ปรับ ปรุ
ปล - ปลาย เปลี่ยน แปลง ปลอด ปลุก ปลี
ผล - ผลุนผลัน แผล เผลอไผล โผล่
พร - พระ พร้อมเพรียง พราน แพรวพราว
พล - พลาด พลุ พลิกแพลง พลับพลา ไพล
พยัญชนะควบไม่แท้
๑. พยัญชนะต้นตัวที่ ๒ เป็น ร แต่ไม่ออกเสียง ร
เช่นคำว่า จริง สร้าง สร้อย เสริม เศร้า ศรี ไซร้
๒. พยัญชนะต้น ทร ออกเสียงเป็น ซ เช่นคำว่า ทรวดทรง ทราบ ทราม ทราย ทรุดโทรม อินทรี(นก,ปลา) อินทรีย์ (ร่างกาย,ปุ๋ย) มัทรี พุทรา เทริด นนทรี
|