Home
เรื่องที่ ๑ : ภาษา
เรื่องที่ ๒ : เสียงในภาษา
เรื่องที่ ๓ : ลักษณะของภาษาไทย
เรื่องที่ ๔ : อิทธิพลของภาษาต่างประเทศ
เรื่องที่ ๕ : การสร้างคำ
=> คำประสม
=> คำซ้อน
=> คำซ้ำ
=> คำสมาสโดยวิธีสมาส
=> คำสมาสโดยวิธีสนธิ
=> คำอุปสรรค
=> แบบฝึกหัดเรื่องที่ ๕
เรื่องที่ ๖ : กลุ่มคำ
เรื่องที่ ๗ : ประโยค
คำสมาสโดยวิธีสมาส

คำสมาสโดยวิธีสมาส

                ๑.   เป็นคำที่มาจากภาษาบาลี (ป.)   และสันสกฤต (ส.)  เท่านั้น

                       นิติ (ป.)        +    บุคคล (ป.)        -      นิติบุคคล                  

                       กิจ (ป.)         +    กรรม (ส.)         -      กิจกรรม

                       ธรรม (ส.)    +    ศาสตร์ (ส.)      -      ธรรมศาสตร์

                        เทศ (ส.)      +    บัญญัติ (ป.)      -     เทศบัญญัติ 

 

                ๒.   อ่านออกเสียงสระที่พยางค์ท้ายของคำหน้า

                        รัฐ        +      มนตรี         -   รัฐมนตรี   อ่านว่า    รัด-ถะ-มน-ตรี

                        ปฐม     +      วัย               -    ปฐมวัย     อ่านว่า     ปะ-ถม-มะ-วัย

                        อุบัติ     +      เหตุ            -    อุบัติเหตุ   อ่านว่า     อุ-บัด-ติ-เหด

                        มหา     +      พน             -    มหาพน    อ่านว่า     มะ-หา-พน

                        มีคำที่ไม่อ่านออกเสียงสระที่ท้ายพยางค์หน้าของศัพท์  แต่จัดเป็นสมาส   เช่นคำว่า   รสนิยม(รด-นิ-ยม)    ชาตินิยม(ชาด-นิ-ยม)     ชลบุรี(ชน-บุ-รี)    ธนบุรี(ทน-บุ-รี)   ฯลฯ

 

                ๓.   แปลความหมายจากคำหลังไปคำหน้า   (แปลความหมายจากคำตั้งไปหาคำขยาย)

                        (ความรู้)     วิทยา     +    ทาน(ให้)                -      ให้ความรู้

                        (กษัตริย์)    ราช       +    โอรส(ลูกชาย)        -      ลูกชายของกษัตริย์

                        (ประเทศ)  รัฐ          +     มนตรี(ที่ปรึกษา)  -       ที่ปรึกษาของประเทศ        

                         (ยิ่งใหญ่)  มหา       +     ราช (กษัตริย์)        -       กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่

                         มีคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต  อ่านออกเสียงสระที่ท้ายพยางค์ของคำหน้า  แปลศัพท์จากคำหน้าไปคำหลัง   แต่จัดเป็นสมาส     เช่นคำว่า    รัตนตรัย (แก้วสามประการ)   ชลเนตร(น้ำตา)     ทศพักตร์(สิบหน้า)     ทศเศียร (สิบหัว)     
                                                         

ข้อสังเกตเพิ่มเติม

                ๑.   คำที่ลงท้ายด้วย  กรรม      เช่นคำว่า     กายกรรม    วจีกรรม   ทารุณกรรม   คหกรรมโจรกรรม   นาฏกรรม    ศิลปกรรม   พฤติกรรม   นิติกรรม   กิจกรรม   อุตสาหกรรม   หัตถกรรมพลีกรรม   ธุรกรรม              

                ๒.   คำที่ลงท้ายด้วย  ธรรม     เช่นคำว่า    พระธรรม    คุณธรรม   อภิธรรม   สันติธรรม  เมตตาธรรม   โลกธรรม    พุทธธรรม

                ๓.   คำที่ลงท้ายด้วย  ศาสตร์    เช่นคำว่า    วิทยาศาสตร์     คณิตศาสตร์    สังคมศาสตร์  ดาราศาสตร์    ครุศาสตร์    ไสยศาสตร์    อักษรศาสตร์    ยุทธศาสตร์    ศึกษาศาสตร์    ภูมิศาสตร์

                ๔.   คำที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า  พระ  (คำที่ต่อจากคำว่าพระต้องเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤต)     เช่นคำว่า    พระพุทธ    พระธรรม    พระสงฆ์   พระอุโบสถ   พระวรกาย   พระหัตถ์

พระกร    พระภูมิ    พระทัย    พระเคราะห์    พระคุณ    พระองค์    พระเดช

                ข้อสังเกต

                                พระเก้าอี้       มิใช่คำสมาส  เพราะว่า     เก้าอี้      มาจากภาษาจีน

                                พระเขนย      มิใช่คำสมาส  เพราะว่า     เขนย     มาจากภาษาเขมร                                          
                                พระดำรัส      มิใช่คำสมาส  เพราะว่า     ดำรัส    มาจากภาษาเขมร 
      
                                พระเจ้า          มิใช่คำสมาส  เพราะว่า      เจ้า      เป็นคำไทย          
   

                                พระราชวัง    มิใช่คำสมาส  เพราะว่า     วัง       เป็นคำไทย    


                                                       

 

This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free